Wedding Love Studio Marriage แต่งงาน Card Photo Dress Ring Flower Planning Cake DecorationWedding Love Studio Marriage แต่งงาน Card Photo Dress Ring Flower Planning Cake DecorationWedding Love Studio Marriage แต่งงาน Card Photo Dress Ring Flower Planning Cake DecorationWedding Love Studio Marriage แต่งงาน Card Photo Dress Ring Flower Planning Cake DecorationWedding Love Studio Marriage แต่งงาน Card Photo Dress Ring Flower Planning Cake Decoration

Thursday, September 29, 2011

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding
ขั้นตอนการแต่งงานแบบไทย พิธีแต่งงานไทย ประเพณีแต่งงาน
www.centerwedding.com/m14.php
ประเพณีแต่งงาน. ร้านดอกไม้สุพรรณิการ์ รับจัดงานแต่งงาน ทั้งแบบพิธีไทย และพิธีคริสต์ พร้อมจัดพานขันหมาก พานพิธีต่าง ๆ ด้วยฝีมือปราณีต. ขันหมากเอก ... ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding คนไทยถือว่าการแต่งงานต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายและการที่จะไปขอลูกสาวใครแต่งงานต้องให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอม จึงต้องมีการทาบทาม สู่ขอและหมั้นหมายกันไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานเกิด

เฒ่าแก่ทาบทาม
ในสมัยก่อนผู้หญิงผู้ชายไม่มีโอกาสคบหากันอย่างอิสระอย่างสมัยนี้ เมื่อชายต้องการแต่งงานกับลูกสาวบ้านไหนจึงต้องแต่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม หากฝ่ายหญิงมีท่าทีไม่ไม่รังเกียจจึจะจัดผู้ใหญ่ไปสู่ขออีกครั้ง ในขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงอาจจะขอวันเดือนปีเกิดฝ่ายชายไปตรวจดู ถ้าไม่อยากสานสัมพันธ์กับฝ่ายขายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะได้มีข้ออ้างว่าดวงไม่สมพงษ์กัน

ฤกษ์ยาม
ฤกษ์ยามที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานนี้มีตั้งแต่ฤกษ์ยกขันหมาก สู่ขอ ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำ ส่งตัวและฤกษ์เรียงหมอนการหาฤกษ์จะดูทั้งวัน เดือน ปีที่สมพงษ์กับคู่แต่งงาน คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือนสิบสองเพราะถือว่าเป็นฤดูที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นข้างแรมโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น “วันจม” วันอังคารและวันเสาร์ถือว่าเป็น “วันแรง” วันพุธก็เป็นวันสุนัขนามไม่ดี วันพฤหัสบดีไม่เหมาะอีกเพราะในตำนานฮินดูนั้นลูกสาวพระพฤหัสบดีแต่งงานไปแล้วมีชู้ วันที่เหมาะจะแต่งงานคือวันศุกร์ เพราะมีเสียงพ้องกับ “สุข”

และถ้าได้วันที่เป็นอธิบดีและวันธงชัยก็ยิ่งดี แต่วันที่ดีเลิศนั้นมีไม่กี่วันในหนึ่งปี คู่ที่ไม่อยากรอนานจึงถือเอา “ฤกษ์สะดวก” คือ ปลอดจากฤกษ์ไม่ดีทั้งหลายเป็นพอ

สินสอด – ทองหมั้น
เมื่อสองฝ่ายเห็นชอบกันว่ามีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายจะแต่งเฒ่าแก่สู่ขอไปเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงถึงเรื่องสินสอดทองหมั้นและกำหนดวันแต่งงาน สมัยก่อนผู้ชายเป็นผู้ปลูกเรือนหอบนที่ของฝ่ายหญิงตามธรรมเนียม “แต่งเขยเข้าบ้าน” ก็จะมีการตกลงเรื่องนี้กันด้วย

ขันหมากหมั้น
ขันหมากหมั้น ตามธรรมเนียมไทยประกอบด้วยขันหมากและทองหมั้นซึ่งฝ่ายชายนำไปมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะแต่งงานกัน คนไทยสมัยก่อนชอบกินหมาก แขกไปใครมาก็ยกขันหมากอกมาต้อนรับ ขันหมากจึงมีความสำคัญในประเพณีแต่งงานไทย ขันหมากหมั้นมักใช้ขันทอง เงิน นาก ถม ใส่หมากทั้งลูก ไม่เฉาะหรือเฉือน 8 ผล และพลู 4 เรียง จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้แต่นิยมจัดให้เป็นเลขคู่ ก้นขันหมากใส่ถุงบรรจุข้าวเปลือก ถั่วเขียว ข้าวตอกและงาดำอย่างละ 1 ถุง เป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวมีความเจริญงอกงาม บางบ้านอาจจะใส่แป้งข้าวหมากเอาเคล็ดว่าคู่แต่งงานจะทำการอะไรให้เฟื่องฟู พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “แต่งงาน” ว่าบางบ้านอาจจะใส่ดอกรักเด็ดจากช่อที่เป็นยอดลงไปด้วยเพราะมีชื่อเป็นมงคล
ของหมั้นตามประเพณีเดิมนิยมให้ทองรูปพรรณเพราะมีของมีค่าที่นำติดตัวไปไหน ๆ ได้ จึงเรียกกันติดปากว่า ทองหมั้นคู่กับสินสอด แม้ว่าความนิยมจะเปลี่ยนไปและเดี๋ยวนี้บางคู่ก็หมั้นกันด้วยแหวนเพชรวงเดียว ของหมั้นที่โบราณมักเรียกกันก็มีอาหาร ขนม ผลไม้ และน้ำตาลหมั้นเพื่อแจกจ่ายในหมู่ญาติเป็นประกาศให้รู้ว่าลูกสาวบ้านนี้มีผู้หมั้นหมายแล้ว

ขันหมากแต่ง
ประกอบด้วยขันหมากเอกและขันหมากเลวหรือขันหมากโท ขันผ้าไหว้สำหรับพ่อแม่ฝ่ายหญิงคู่หนึ่งและสำรับผ้าขาวสำหรับไหว้ผีปู่ย่าตายาย ขันหมากเอกประกอบด้วยขันหมากบรรจุลูกหมาก พลูเรียงเหมือนขันหมากหมั้น โบราณให้รองก้นขันด้วยใบรักและใบสวาด แต่อย่างหลังนี้คงจะหาได้ยาก ขันสินสอด บรรจุเงินสินสอดตามที่ตกลงกัน ขันทุนสินหรือขันเงินทุนซึ่งทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต่างก็เตรียมไว้จำนวนเท่ากันเพื่อให้คู่บ่าวสาวใช้เป็นเงินทุนตั้งตัว ขันทุนสินนี้มักใส่เงินปลีกลงมาด้วยเอาเคล็ดว่าให้เงินจำนวนนี้งอกงามต่อไปและใช้เสี่ยงทายในพิธีสู่ขอด้วย ทั้งขันสินสอดและขันทุนสินให้รองก้นด้วยข้าวเปลือก ถั่ว งา และใบไม้ดอกที่มีชื่อเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบแก้ว ใบรัก ใบสวาด ดอกพุทธชาด ดอกบานไม่รู้โรย ในหมู่ขันหมากเอกยังมีเตียบ ซึ่งเป็นพาชนะบรรจุอาหารทรงคล้ายตะลุ่ม ปากผาย มีฝาครอบ จัดเป็นคู่ ๆ บรรจุอาหารคาวหวาน ที่นิยมกันก็มี ไก่ หมู่ ห่อหมก ขนมจีน สองอย่างแรกเป็นของที่ใช้เซ่นไหว้ตามธรรมเนียมสองอย่างหลังมีความหมายดี เนื่องจาก “หมก” หมายถึง “รวม” และขนมจีนนั้นมีเส้นยาวเป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวรักกันนาน ๆ ของหวานที่นิยม มีฝอยทอง ขนมชั้นขนมกล้วย ขนมกง มะพร้าวอ่อนทั้งใบ กล้วย ส้มทั้งผล สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือขันไหว้ผีใส่มะพร้าวอ่อน อ้อย และเหล้าทั้งขวด นอกจากนี้ยังมักจัดพานถัวงาสำหรับใช้ในพิธีสู่ขอ
ขันหมากเลวหรือขันหมากโท (เลวหมายถึงสามัญ) จะจัดกี่คู่ก็ได้ บรรจุขนมต่าง ๆ เช่น ทองเอก ฝอยทอง ขนมจันอับของจีนหรือขนมเค้กแบบฝรั่ง แล้วแต่ความนิยม และผลไม้พื้นบ้าน เช่น กล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน สมัยก่อนเจ้าบ่าวจะส่งขันหมากเลวมาล่วงหน้าก่อนวันแต่ง 1 วัน (วันสุกดิบ) เพื่อที่ฝ่ายเจ้าสาวจะได้นำอาหารนั้นมาเลี้ยงแขกในวันแต่งงานด้วย

พิธีรดน้ำ
เดิมทีเป็นพิธีซัดน้ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้ประพรม หรือ “ซัด” น้ำมนต์บนตัวแก่คู่บ่าวสาว ซึ่งมักว่ากันถึงเปียกปอนเลยทีเดียว ต่อมาจึงแปลงเป็นการให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายและแขกเหรื่อร่วมรดน้ำอวยพรแก่คู่บ่าวสาวแทน เครื่องใช้ในพิธีซึ่งฝ่ายเจ้าสาวต้องเตรียมได้แก่

- โต๊ะหมู่บูชา ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าไม่สะดวกจะหันไปทิศอื่นก็ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นทิศของคนตาย
- ธูป เทียน สำหรับจุดนมัสการพระพุทธ ใช้ธูป 3 ดอก เทียน 1 คู่ ยังไม่ต้องจุด
- ตั่งรดน้ำ ปกติใช้ตั่งสำหรับคู่บ่าวสาวนั่งห้อยเท่าหรือพับเพียบและที่วางมือรับน้ำสังข์ ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชา ห้ามไม่ให้วางหันไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน หน้าตั่งวางขันน้ำหรือพานสำหรับรองรับน้ำสังข์
- โต๊ะวางหม้อน้ำสังข์ สังข์ พานมงคลแฝด โถแป้งกระแจะสำหรับเจิมหน้าคู่บ่าวสาว มงคลแฝดนี้ปกติเจ้าภาพ จะเตรียมสายสิญจน์แล้วนิมนต์ให้ประธานสงฆ์เป็นผู้ทำมงคล แต่พระบางรูปจำไม่รับนิมนต์ เจ้าภาพต้อง ตระเตรียมเอง ส่วนน้ำสังข์ จะใช้ “น้ำพระพุทธมนต์” ที่พระสงฆ์ปลุกเสกให้
- มาลัยบ่าวสาว 1 คู่

เมื่อได้ฤกษ์ ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะนำคู่บ่าวสาวมาจุดธูปเทียนบูชาพระ เสร็จแล้วคู่บ่าวสาวขึ้นนั่งบนตั่งรดน้ำ ให้หญิงนั่งซ้าย ชายนั่งขวา จากนั้นผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในพิธีกราบพระแล้วสวมมาลัยให้คู่บ่าวสาว สวมมงคลคู่ รดน้ำสังข์แล้วเจิมหน้าผากคู่บ่าวสาว จากนั้นจึงเชิญแขกร่วมรดน้ำตามลำดับอาวุโส เมื่อเสร็จพิธี ประธานจะถอดมงคลพร้อมกล่าวอวยพรแก่คู่บ่าวสาว จากนั้นทั้งคู่จึงลุกจากที่พร้อม ๆ กัน แต่บางคนอาจถือเคล็ดว่าใครปลุกก่อนจะมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง

พิธีปูที่นอน
นิยมเชิญคู่สามีภรรยาที่รักกัน มีลูกหลานสืบสกุลและเป็นคนดีมีศีลธรรมมาเป็นประธานเมื่อได้ฤกษ์ประธานจะไหว้พระสวดมนต์แล้วขึ้นนอนคู่กันบนที่นอนพอเป็นพิธี โดยอาจจะมีคำกล่าวเอาเคล็ดต่างๆ ร่วมด้วย เป็นต้นว่า “ที่นอนนี้ใครนอนเห็นจะเป็นสุขสบาย เจริญรุ่งเรือง ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง” ฯลฯ เครื่องใช้ในพิธีปูที่นอนอมีฟักเขียว 1 ผล หินบดยา 1 ลูก แมวสีขาว หม้อใหม่ใส่น้ำฝน และพานใส่ถั่วงาที่เหลือจากเคล้าทุนสิน ทั้งหมดนี้วางไว้ข้างที่นอนเอาเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวในเย็นเหมือนฟัก หนักแน่นเหมือนหิน อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแมว ให้อดกลั้น ถนอมน้ำใจกันอย่างโบราณว่า “น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก” และทำการใดให้งอกงามเหมือนถั่งงา สมัยนี้ถ้าหาแมวไม่ได้หรือเกรงว่ามันจะไม่ยอมร่วมมืออาจจะใช้ตุ๊กตาแมวแทนก็ได้ และบางบ้านอาจจะนำกลีบดอกรัก กุหลาบ บานไม่รู้โรยมาโรยบนที่นอนอด้วยเพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรักกันมาก ๆ

พิธีส่งตัว
พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะพาเจ้าสาวมาส่งทีห้องหอ ให้โอวาทและอวยพรแก่ทั้งคู่ บางบ้านอาจจะให้ทำพิธีเกี่ยวก้อยตามแบบโบราณ โดยให้เจ้าสาวกราบเจ้าบ่าวแล้วเข้าไปอยู่หลังม่านในห้องหอ เจ้าบ่าวไหว้เฒ่าแก่ในพิธีแล้วจึงยื่นมือเข้าไปเกี่ยวก้อยกับเจ้าสาวในม่าน จากนั้นเฒ่าแก่จะให้เจ้าสาวกราบหมอนเจ้าบ่าวแล้วนอนลงทางฟากของตนก่อนเป็นเคล็ดให้เจ้าบ่าวเกรงใจเจ้าสาว เฒ่าแก่อาจจะสั่งสอนทั้งสองฝ่ายถึงหน้าที่สามีภรรยาก่อนจะลากลับ

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding
http://www.blossomlove.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538620354&Ntype=3
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=636

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย
www.weddinginlove.com/articles/Ceremony-30.html
ประเพณีการแต่งงานแบบไทย. ... ความหมายและความสำคัญของแต่ละลำดับขั้นตอนพิธีแต่งงานไทย ... แม้ว่าการแต่งงานจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเพณีวัฒนธรรม . ... ประเพณีการแต่งงานแบบไทย เตรียมแต่งงาน Thai Wedding
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...